Bloom'staxonomy 1956
ภาพที่ 1 การจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด
Bloom’s Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม
ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย
และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด
เช่น ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์
การสังเคราะห์ การประเมิน
นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson
and Krathwohl (2001) เป็น กาจำ(Remembering) การเข้าใจ(Understanding) การประยุกต์ใช้(Applying)
การวิเคราะห์ (Analysing) การประเมินผล (Evaluating)
และการสร้างสรรค์ (Creating) ด้านจิตพิสัย
จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม,
การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย
จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน,
ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน ในส่วนนี้จะอธิบายถึงด้าน พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา
ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ
อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
ภาพที่ 2 ด้าน พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ
ได้แก่
1.ความรู้ความจำ
ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์
2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ
และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น
ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้
ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง
ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้
และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย
ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ
เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม
อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ
อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ
หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา
หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
ตัวอย่างข้อสอบทั้ง 6 ด้าน
ตัวอย่างข้อสอบด้านความรู้ความจำ
1. ใครคือบิดาแห่งคอมพิวเตอร์?<ถามให้ระลึกสิ่งง่ายๆ (simple recall)>
ตอบ ชาร์ลส์ แบบเบจ Charles Babbage
ตัวอย่างข้อสอบด้านความเข้าใจ
2. สแกนเนอร์มีการทำงานอย่างไร? <ถามให้อธิบาย (Explanation) เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้ตอบใช้เหตุผลประกอบข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการสังเกตในสถานการณ์ปัจจุบัน และความรู้เดิม>
ตอบ การ จับ ภาพ ของสแกนเนอร์ ทำ โดย ฉาย แสง บน เอก สาร ที่ จะสแกน แสง จะ ผ่าน กลับ ไป มา และ ภาพ
ตัวอย่างข้อสอบด้านการนำไปใช้
3. ถ้าเมาส์ใช้ไม่ได้ เราจะทำการปิดหน้าจออย่างไรโดยถูกวิธี?
ตอบ การใช้คีย์บอร์ดในการควบคุม
ตัวอย่างข้อสอบด้านการวิเคราะห์
4. การอนุุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ควรทำตามข้อใดมากที่สุด
ก. ตัดต้นไม้มาทำฟืน
ข. ดูแลรักษา ต้นไม้ ปลูกป่า
ค. นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้
ง. ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในป่า
ตอบ ข. ดูแลรักษา ต้นไม้ ปลูกป่า
ตัวอย่างข้อสอบด้านการวิเคราะห์
5. ถ้าต้องการนำเสนองาน ควรใช้โปรแกรมใดจากรูป
ข. Microsoft Word
ค. Paint
ง. Microsoft Excel
ตอบ ก. Microsoft Power Point
ตัวอย่างข้อสอบด้านการประเมินค่า
6. ไก่ เป็นหญิงอ้วนเตี้ย จะเลือกซื้อผ้าลายขวางสีครีมตัดเสื้อ จะเหมาะสมหรือไม่ <ประเมิณโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายนอก>
ตัวอย่างข้อสอบด้านการประเมินค่า
6. ไก่ เป็นหญิงอ้วนเตี้ย จะเลือกซื้อผ้าลายขวางสีครีมตัดเสื้อ จะเหมาะสมหรือไม่ <ประเมิณโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายนอก>
ก. เหมาะสมเพราะสีครีมเป็นสีสุภาพ
ข. เหมาะสมเพราะทำให้ดูสง่า
ค. ไม่เหมาะสมเพราะทำให้ดูอ้วน
ง. ไม่เหมาะสมเพราะสกปรกง่าย
ตอบ ค. ไม่เหมาะสมเพราะทำให้ดูอ้วน