วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

INSDIE OUT



สรุปเรื่อง
               เมื่อ "ไรลีย์" เด็กหญิงวัย 11 ปี ผู้เติบโตขึ้นมาจากชีวิตแบบตะวันตกตอนกลางต้องย้ายมายังซานฟรานซิสโกตามพ่อของเธอที่ได้รับการเสนองานใหม่เช่นเดียวกับเราทุกคน ไรลีย์ถูกควบคุมด้วยอารมณ์ต่างๆเธอไม่ว่าจะเป็น 



         - ความสุข  (Joy) ตัวแทนแห่งความสุข ผู้มีมาพร้อมร้อยยิ้มกว้างและเรื่องสนุกสนาน
         - ความโกรธ  (Anger) ตัวแทนของความรู้สึกโกรธ ผู้มาพร้อมกับไฟบนหัวยามเมื่อรู้สึกโมโหจัด เขาคือผู้ที่พร้อมจะถูกจุดระเบิดอยู่ตลอดเวลา



         - ความกลัว  (Fear) ตัวแทนแห่งความรู้สึกกลัว ผู้ที่มาพร้อมความวิตกกังวลบนหางคิ้วซึ่งตกจนเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว
         - ความน่ารังเกียจ(Disgust)  ตัวแทนของความรู้สึกรังเกียจ อารมณ์ที่จะแสดงออกถึงความไม่พอใจในทุกสิ่งทุกอย่าง 
         - ความเศร้า (Sadness) ตัวแทนของความรู้สึกโศกเศร้า ความรู้สึกที่มาพร้อมความมัวหมองตลอดเวลา
                อารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ­่ซึ่งเป็นศูนย์ควมคุมส่วนกลางภายในจิตใจของไรลีย์ ที่ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้ เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมือง

สิ่งที่ได้จากการดูหนัง
1. ทำให้รู้จักกับกระบวนการทำงานภายในสมอง ทางด้านการควบคุมอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ
2. ได้ความรู้เกี่ยวกับความทรงจำระยะสั้น และความทรงจำระยะยาว
3.  ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน พร้อมทั้งได้รับความรู้จากการดูหนัง
4.   เป็นการหาทางที่จะทำให้อารมณ์ในทุกๆด้านมีสมดุล ทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ และหาทางที่
ใช้ประโยชน์จากแต่ละอารมณ์ในแต่สถานการณ์ที่เหมาะสม
5.  อารมณ์สามารถทำให้คนเกิดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ
6.  ทำให้ตระหนักถึงสิ่งที่รับรู้ การใช้อารมณ์ และกระบวนการในการทำงาน
7.  ถ้าเราไม่จำจด ไปนานๆความทรงจำนั้นก็จะค่อยๆ เลือนหายไป
8.  จินตนาการในวัยเด็ก ถ้าเราลืมมันไป ความทรงจำก็จะหายไปด้วย

ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎี
1.  ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม  เช่นกับไรลีย์ เมื่อเขาลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ในภายในไรลีย์จะมีระบบจัดเก็บรวบรวมกระบวนการต่างๆอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก มีทั้งการซึมซาบประสบการณ์และการตีความต่างๆ

2.  ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์  นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า  เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode

3.  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล
ไรลีย์  ที่เคยเล่นกีฬามาแล้วจะสามารถจำวิธีการเล่นได้โดยไม่ต้องจดจำ เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่กับหลักเกณฑ์เดิมที่เคยสร้างมาแล้ว

4.  ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
ไรลีย์  มีการทำงานกระบวนการต่างๆในการประมวลสารสนเทศ เช่น ความใส่ใจ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้จักคิดของตนเอง (Metacognition)
......................................................................................................................



วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม



ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

                    ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม   

แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
      1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้
      2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่าง
      3. แรงเสริม(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม
       1. Respondent Behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)


        2. Operant Behavior เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม อธิบายได้โดยทฤษฎี Operant Conditioning Theory    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่างๆมีดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก  
(Classical Conditioning Theory)
        
แนวคิดของพาฟลอฟ
           นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียชื่อ  พาฟลอฟ  (Pavlov,1849-1936)  เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาก  ได้รับรางวัลโนเบล  (Nobel  Prize)  จากการวิจัยเรื่อง สรีรวิทยาของการย่อยอาหารเมื่อปี  ค.ศ. 1904  ในการวิจัยเกี่ยวกับสรีรวิทยาของการย่อยอาหารของสุนัข  พาฟลอฟสังเกตสุนัขมีน้ำลายไหลออกมา  เมื่อเพียงแต่เห็นผู้ทดลองนำอาหารมาให้  พาฟลอฟสนใจในพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขที่ได้รับอาหารมากขึ้นจึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างมีระเบียบและทำการวิจัยเรื่องนี้อย่างระเอียดการทดลองของพาฟลอฟเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาพฤติกรรม เพราะเป็นการทดลองที่ใช้การควบคุม  (  Contornl  )  ดีมาก  พาฟลอฟได้ทำการทดลองดดยการสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร  (  ผงเนื้อ  )  ให้แก่สุนัข  เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อแก่สุนัข  จะต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ  .25  ถึง  .50  วินาที  ทำซ้ำควบคู่การหลายครั้ง  และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังมีน้ำลายไหลได้  ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า  พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข  ( Pavlov,1927 )  หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก  ผู้เขียนเคยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมปีที่  6  ในชั่วโมงที่นายแพทย์มาแสดงปาฐกถาพิเศษ  เรื่องสมองใช้เวลาปาฐกถา  2  ชั่วโมง  ระหว่าง  10.00-12.00 น.  เมื่อปาฐกถาเสร็จแล้ว  ขณะที่นายแพทย์ยกมือขอถามอีกคำถามหนึ่งซึ่งเขาอยากทราบคำตอบมานานแล้ว  นักเรียนถามว่า  “ก่อนเสียงกริ่งผมไม่รู้ศึกหิวข้าวเลย พอได้ยินเสียงกริ่งรู้ศึกหิวข้าวขึ้นมาทันที แทบว่าอยากจะวิ่งไปโรงอาหาร ทำไมเป็นอย่างนั้นครับนายแพทย์ให้คำตอบโดยเล่าการทดลองการทดลองของพาฟลอฟเกี่ยวกับสุนัขให้ฟัง ซึ่งนักเรียนฟังด้วยความสนใจมาก

พาฟลอฟ(Ivan Petrovich Pavlov)
     นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่สนใจศึกษาระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบหัวใจและศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร จนทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา ในปี ค.ศ. 1904 จากการวิจัยเรื่องสรีรวิทยาของการย่อยอาหาร
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยวางเงื่อนไข แบ่งออกเป็น
UCS      Unconditioning Stimulus           สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
UCR     Unconditioning Response          การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
CS        Conditioning Stimulus                สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข
CR       Conditioning Response                การตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข


                 การทดลองของพาฟลอฟมักเป็นพฤติกรรมรีเฟลกเป็นพฤติกรรมที่เราไม่สามารถควบคุมได้โดยทดลองให้ สุนัขเห็นผงเนื้อ ซึ่งสุนัขจะรู้สึกหิวแล้วน้ำลายไหล   ผงเนื้อ คือ UCS   สุนัขเห็นผงเนื้อแล้วเกิด
น้ำลายไหล คือ UCSเป็นผู้กำหนด ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค




                     พาฟลอฟจึงลองเอาอย่างอื่นมาทำให้สุนัขน้ำลายไหล โดยให้เสียงกระดิ่งเป็น CS (ซึ่งธรรมดาสุนัขได้ยินก็ไม่ได้ทำให้น้ำลายไหล)



โดยวางเงื่อนไขให้ CS มาคู่กับ UCS โดยการสั่นกระดิ่งพร้อมล่อด้วย ผงเนื้อ สุนัขจะน้ำลายไหล



ภายหลังแค่สั่นกระดิ่ง  สุนัขก็น้ำลายไหลได้(ซึ่งเป็น CR) น้ำลายไหล UCR กับ CR ไม่เหมือนกัน
เพราะตัวแรก (UCR) เกิดจากผงเนื้อ  แต่ตัวหลัง (CR) เกิดจากกระดิ่ง ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว

สรุป
            สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งคือสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ซึ่งเรียกว่าสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned stimulus)และกิริยาการเกิดน้ำลายไหลของสุนัข เรียกว่าการตอบสนองที่ถูกวาเงื่อนไข (Conditioned response)
ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข 

แนวคิดของวัตสัน
      วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
การทดลอง 
             เริ่มโดยผู้วิจัยเคาะแผ่นเหล็ก ให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR) คือ ความกลัว Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อหนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที

เสียงดัง  (UCS)                --------------             กลัว (UCR)


หนูขาว  (neutral)             --------------                ไม่กลัว


หนู   เสียงดัง                 --------------             กลัว  (CR)

 หนูขาว    (CS)               --------------                กลัว  (CR)
สรุป
จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1)  พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วาง
เงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2)  เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
  การนำไปประยุกต์ใช้   สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาด้านความกลัวของเด็กหรือวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการตอบสนองในเรื่องที่ต้องการให้แสดงพฤติกรรม



ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ 
(Operant Conditioning Theory)

แนวคิดของธอร์นไดค์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
              ปี  ค.ศ. 1898 เขาเริ่มการทดลองเกี่ยวกับการใช้หีบกล(Puzzle-box) ใช้หลักการลองถูกลองผิด(trial and error)ในการสร้างกล่องปัญหาหรือกล่องหีบกลนี้ขึ้น

ธอร์นไดค์ ได้ตั้งกฎแห่งการเรียนรู้ขึ้นอีก 3 กฎ คือ
 1. กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness ) ธอร์นไดค์ตั้งกฎแห่งความพร้อมนี้เพื่อเสริมกฎแห่งผล และได้อธิบาย ไว้ในรูปของการเตรียมตัว และการเตรียมพร้อม ในการที่จะตอบสนองกิจกรรมที่ตามมาหลังจากการที่มีการเตรียมตัวพร้อมแล้ว เช่น ในสถานการณ์ของแมวในกรง แมวจะทำอะไรออกมานั้น แมวจะต้องหิว แมวสามารถเอาเท้าตะปบเชือกที่ห้อยแขวนอยู่นั้น ได้ และมีประสาทสัมผัสที่จะรับรู้ว่าได้รับผลพอใจหรือไม่พฤติกรรมที่แสดงออกไปแล้ว เป็นต้น หรือถ้ามนุษย์พร้อม ที่จะเรียนรู้อะไรบางอย่างได้ พร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่จำเป็นสำหรับขบวนการการเรียนรู้นั้น เช่น จะต้องมีร่างกายที่สูงพอ แข็งแรงและอยู่ในสภาวะจูงใจที่เหมาะสม ผู้เรียนจะแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรมอะไรออกมานั้น ธอร์นไดค์ให้หลักไว้ 3 ข้อ คือ
                        1. เมื่อหน่วยของการกระทำพร้อมที่จะแสดงออกมา ถ้าผู้กระทำทำด้วยความสบายหรือพอใจไม่มีอะไรจะเปลี่ยนแปลงการกระทำ นี้ได้
                        2. ถ้าหน่วยของการกระทำพร้อมที่จะแสดงออกแต่ไม่ได้แสดง จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ
                        3. ถ้าหน่วยของการกระทำยังไม่พร้อมที่จะแสดงออก แต่จำเป็นต้องแสดงออก การแสดงออกนั้น ๆ กระทำไปด้วยความไม่สบายใจ ไม่พอใจเช่นกัน ถึงแม้ว่าธอร์นไดค์ได้ปรับปรุงแก้ไขและขยายแนวความคิดของเขาอยู่ตลอดเวลา ทำให้กฎแห่งความพร้อมและ กฎแห่งการฝึกหัดหย่อนความสำคัญไป ยังคงเหลือเพียงกฎแห่งผลที่เป็นที่ยอมรับกันอยู่ แต่ในกฎนี้ก็เหลือเพียงด้านของรางวัล ที่มีผลต่อการเรียนรู้ ส่วนด้านการลงโทษกับการเรียนรู้นั้นถูกตัดทิ้งไป
2. กฎแห่งการฝึก ( Law of Exercise ) จากการสังเกตเมื่อเอาแมวใส่กรงครั้งหลัง แมวจะหาทางออกจากกรงได้เร็วขึ้น เมื่อทดลอง นาน ๆ เข้า แมวก็สามารถออกจากกรงได้ทันที ตามลักษณะนี้ธอร์นไดค์อธิบายว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองได้ สัมพันธ์ แน่นแฟ้นขึ้น และความสัมพันธ์นี้จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เมื่อมีการฝึกหัดหรือซ้ำบ่อย ๆ และความสัมพันธ์นี้ จะคลายอ่อนลง เมื่อไม่ได้ใช้ และธอร์นไดค์เชื่อว่าการกระที่ไม่มีรางวัลเป็นผลตอบแทนหลังการตอบสนองนั้น ๆ สิ้นสุดลง จะต้องลงเอยด้วย ความสำเร็จ มิฉะนั้นการกระทำนั้นก็ไม่มีความหมาย แต่หลังจากปี ค.ศ.1930 ธอร์นไดค์ได้แก้กฎแห่งการฝึกนี้ ใหม่ เพราะใน บางกรณี กฎแห่งการฝึกและกฎแห่งผลไม่สามารถใช้ในสถานการณ์เดียวกันได้ เช่น เมื่อปิดตาแล้ว ทดลองหัด ลากเส้นให้ยาว 3 นิ้ว แม้ให้ฝึกหัดลากเส้นเท่าไรก็ตาม ก็ไม่สามารถลากเส้นให้ยาว 3 นิ้วได้ ดังนั้นการฝึกหัดทำจะมีผลดีต่อ การเรียนรู้ด้วย ตัวของมันเอง ไม่ได้ จะต้องมีเหตุผลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นธอร์นไดค์จึงประกาศยกเลิกกฎแห่งการฝึกนี้ แต่ยังเชื่อว่า การฝึกฝนที่มี การควบคุมที่ดี ก็ยังมีผลดีต่อการเรียนรู้อยู่นั่นเอง กล่าวคือ ถ้าเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทราบผลของ การเรียน แต่ละครั้งว่า ยาวหรือสั้นไปเท่าใด การฝึกหัดก็สามารถทำให้ผู้ฝึกหัดมีโอกาสลากเส้นให้ยาว 3 นิ้วได้
               3. กฎแห่งผล ( Law of Effect ) กล่าวว่าเมื่อการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองนำความพอใจมาให้ การ เชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองก็จะแน่นแฟ้นขึ้น ถ้าความสัมพันธ์นี้นำความรำคาญใจมาให้ ความสัมพันธ์นี้ ก็จะคลายความ แน่นแฟ้นลง หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าจะให้ผู้เรียนรู้อะไรจะต้องมีรางวัลให้ (รางวัลมิได้หมายถึงสิ่งของ แต่อย่างเดียว แต่รวมเอา ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ผู้เรียน รู้สึกพอใจ เช่น การให้คำชมเชย เป็นต้น ) เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรม ที่ต้องการออกมา ถ้าจะให้ พฤติกรรมบางอย่างหายไปเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาจะต้องมีการทำโทษ เมื่อธอร์นไดค์ ประกาศ กฎแห่งผล ออกมาเช่นนี้ มีผู้พยายามทดลองเพิ่มเติมและมีผู้ได้แย้งกันเป็นอันมาก ต่อมาธอร์นไดค์พบว่า การทำโทษ มิได้ทำให้การเชื่อมโยงคลายลง ในที่สุดก็สรุปว่า ถ้าการทำโทษมีผลอยู่บ้าง ก็ไม่ได้ทำให้การเชื่อมโยงอันเก่าคลายลง แต่จะเป็นการบังคับ ให้ผู้เรียนพยายาม ลองแสดง อาการตอบสนองอย่างอื่น ในที่สุดธอร์นไดค์จึงล้มเลิกกฎแห่งผลที่เกี่ยวกับ การลงโทษ แต่ยังคงเหลือ กฎแห่งผล ในด้านการให้รางวัลไว้ว่า รางวัลเท่านั้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
         
           หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
             ทฤษฎีของธอร์นไดค์ เรียกว่า ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory) 
กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง (Response - R) ธอร์นไดค์นำแมวที่หิวมากไปขังไว้ในกล่องที่สร้างขึ้น 
แล้วนำปลาไปวางล่อไว้นอกกรง แล้วเฝ้าสังเกตว่าแมวพยายามหาวิธีออกจากกรงอย่างไร ด้วยความบังเอิญเท้าของมันไปเหยียบ
ถูกคานไม้ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นขังแมวไว้ใหม่ หลายสิบครั้งจนแมวเกิดการเรียนรู้  ใช้เวลาในการเปิดกรงได้ในทันที

สรุป
 การลองผิดลองถูก จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และการเรียนรู้ ก็คือการที่มีการเชื่อมโยง (Connection) ระหว่างสิ่งเร้า (Stimuli) และการตอบสนอง ( Responses ) การเรียนรู้แบบ ลองผิดลองถูก มีใจความที่สำคัญว่า เมื่ออินทรีย์ กระทบสิ่งเร้า อินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธี จนพบกับ วิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์ เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับสิ่งเร้า นั้น ๆ มีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ และลำดับขั้น ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบนี้ คือ
                1. มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นสิ่งเร้าให้อินทรีย์แสดงการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมออกมา
                2. อินทรีย์จะแสดงอาการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
                3. ปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจจะถูกตัดทิ้งไป
                4. เมื่อปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจถูกตัดทิ้งไป จนเหลือปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดความพอใจ อินทรีย์จะถือเอา กิริยาตอบสนอง ที่ถูกต้องและจะแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า ( Interaction ) นั้นมากระทบอีก

แนวคิดของสกินเนอร์
สกินเนอร์  (Skinner)  เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำหรือแบบปฏิบัติการ  ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน  คือ  Operant  Conditioning  Theory  หรือ  Instrumental conditioning theory  หรือ  Type - R Conditioning Theory   สกินเนอร์ได้เสนอแนวความคิดโดยจำแนกทฤษฎีทางพฤติกรรมออกเป็น  ประเภท  คือ
1.  พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ   Type S  (Response Behavior)  ซึ่งมีสิ่งเร้า (Stimulus)  เป็นตัวกำหนดหรือดึงออกมา  เช่น  น้ำลายไหลเนื่องจากใส่อาหารเข้าไปในปาก  สะดุ้งเพราะถูกเคาะที่สะบ้าข้างเข่า  หรือการหรี่ตาเมื่อถูกแสงไฟ  พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ
2.  พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ  Type R  (Operant Behavior) พฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง  (Reinforcement)  การตอบสนองแบบนี้จะต่างกับแบบแรก  เพราะอินทรีย์เป็นตัวกำหนดหรือเป็นผู้สั่งให้กระทำต่อสิ่งเร้า  ไม่ใช้ให้สิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของอินทรีย์  เช่น  การถางหญ้า  การเขียนหนังสือ  การรีดผ้า  พฤติกรรมต่าง ๆ  ของคนในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมแบบ Operant Conditioning)  หลักการเรียนรู้ที่สำคัญ  หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่กำหนดให้  กล่าวคือ  เมื่อต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง  เราจะให้ผู้เรียนรู้เลือกแสดงพฤติกรรมเองโดยไม่บังคับหรือบอกแนวทางในการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้วจึง "เสริมแรง" พฤติกรรมนั้นทันที  เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น  พฤติกรรมการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรง  (Reinforcement)  ตัวเสริมแรงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ  คือ
1.   ตัวเสริมแรงทางบวก  (Positive  Reinforcement)  หมายถึง สิ่งเร้าใด    ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น  เช่น  คำชมเชย  รางวัล  อาหาร
2.   ตัวเสริมแรงทางลบ   (Negative  Reinforcement)   หมายถึง  สิ่งเร้าใด ๆ  ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ  เป็นตัวเสริมแรงทางลบ  เช่น  เสียงดัง  อากาศร้อน  คำตำหนิ  กลิ่น  การทำโทษ  เป็นการนำตัวเสริมแรงลบเข้ามา  เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำไปใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มขึ้น
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย
1.  การใช้เสริมแรง   (Reinforcement)   ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม  ครูควรให้การเสริมแรง  โดยการชมเชยหรือให้แรงจูงใจ  โดยวิธีการต่าง ๆ  เช่น  การให้รางวัล  ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการให้ผู้อื่นสนใจตนหรือเห็นว่าตนเองสำคัญกว่าคนอื่น  การให้แรงจูงใจจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ  พอใจที่จะเรียน
2.  การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่างและการลดพฤติกรรมบางอย่าง  (Shaping Behavior)
หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง  กล่าวคือ  เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว  ดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด  ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น  เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น  ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป  การปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ให้แก่เด็กโดยการใช้การเสริมแรงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรม ครูควรมีการวางแผนให้เหมาะสม
3.  บทเรียนแบบโปรแกรม  (Programmed Maching)  และเครื่องช่วยสอน  (Teaching Learning) สกินเนอร์ได้เสนอการสอนแบบโปรแกรม   ซึ่งจัดแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เป็นขั้น ๆ  และจัดลำดับให้เป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เรียนได้ง่าย และเมื่อสำเร็จแต่ละขั้นจะได้รับแรงเสริม หรือให้รางวัลทันที ทั้งบทเรียนสำเร็จรูปและเครื่องช่วยสอนต่างเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้ให้  ซึ่งบทเรียนดังกล่าวควรนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสันอีริคสัน  (Erikson)  ได้เน้นความสำคัญที่วัยของเด็ก  ขั้นตอนของการพัฒนาการและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ  ตัวเด็กว่า  ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เขาพอใจ  ประสบความสำเร็จ เขาจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น  แต่ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี  ไม่พอใจ  จะมองโลกในแง่ร้าย  ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่วางใจผู้อื่นอีริคสัน  ยังได้ย้ำว่า  ถ้าหากเด็กไม่พัฒนาและผ่านขั้นต้นแล้ว  เด็กก็จะไม่สามารถพัฒนาในขั้นต่อ ๆ ไปได้การนำมาใช้ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้น  การจัดกิจกรรมในขั้นก่อนประถมศึกษา  เน้นการที่เด็กได้ประสบความสำเร็จและพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน  ต่อเพื่อนฝูงและต่อครู  ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมองสังคมใหม่  สังคมโรงเรียนในด้านดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อผู้อื่น  และถ้าหากว่าเด็กพอใจและมองโรงเรียนในแง่ดีแล้ว เด็กก็อยากมาโรงเรียน ก็จะได้รับการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้นการช่วยเหลือตนเอง  เช่น  การไปห้องน้ำ การแต่งกาย  การเก็บของเล่นเข้าที่นั้น  ในระยะเริ่มต้น  ครูจะดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด  และใช้การชมเชย การชักชวนให้ทำกิจกรรมร่วมกับครู  ก็จะเป็นการไม่บังคับ  เด็กไม่เกิดการต่อต้านและเกิดความพอใจเป็นรางวัลในการทำกิจกรรมช่วยเหลือ  การหัวเราะเยาะในสิ่งที่เด็กทำ  หรือการจัดแข่งขันผลงานที่อาจจะก่อให้เกิดการละอาย  ก็ไม่ควรใช้  เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกอีกต่อไปกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษา  เน้นผ่านการเล่น  ซึ่งเป็นการสนุกสนาน สื่ออุปกรณ์ที่ใช้   ก็เรียกร้องและเชิญชวนต่อการเข้าร่วมการใช้จินตนาการ  บทบาทสมมติซึ่งเป็นการตอบสนองต่อพัฒนาของเด็กวัยนี้  ก็มีการจัดให้อยู่ตลอดเวลา
การศึกษาทดลองของสกินเนอร์


สรุปแนวคิดที่สำคัญของ สกินเนอร์  Skinner
สกินเนอร์ ได้กล่าวไว้ว่า  การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บุคลแสดงพฤติกรรมซ้ำ และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมแบบเรียนรู้ปฏิบัติและพยายามเน้นว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น ’’